Double Filtration Plasmapheresis (DFPP)
Double Filtration Plasmapheresis (DFPP)
ดีท็อกซ์เลือดล้างสารพิษ (Plasmapheresis)
การกรองพลาสมา (Plasmapheresis) คืออะไร
การกรองพลาสมา หรือ plasmapheresis เป็นกระบวนการบำบัดที่จะทำการแยกส่วนของพลาสมา เพื่อที่จะผ่านขั้นตอนในการกรองคัดแยกสารต่างชนิดต่างๆที่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงออกจากพลาสมา เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด รวมถึงพลาสมาที่ได้รับการบำบัดแล้ว ก็จะถูกลำเลียงกลับเข้าสู่ร่างกายของผู้รับการรักษา
ทำไมถึงต้องทำการกรองพลาสมา
เพราะพลาสมาในร่างกายของแต่ละคนมีการสะสมสารพิษ สารก่อการอักเสบ รวมถึงเชื้อโรคซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมในระยะยาวได้ เพราะเราเชื่อมั่นการป้องกันโอกาสในการเกิดโรคตั้งแต่เนิ่นๆและการดูแลสุขภาพให้มีอายุยืนยาวแบบเชิงรุก ย่อมเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์กับทุกคน จะดีกว่าหรือไม่ หากเจมีไน คลินิกฯ มีเทคโนโลยีที่ช่วยขจัดส่วนที่ไม่ดีหรือเป็นพิษออกจากพลาสมาของคุณ เสมือนการดีท็อกซ์เลือดล้างสารพิษเพื่อสุขภาพนั่นเอง
ขั้นตอนการทำ Plasmapheresis
Plasmapheresis ที่เจมีไน คลินิกฯ ใช้กระบวนการที่เรียกว่า Double Filtration Plasmapheresis (DFPP) เป็นกระบวนการทำให้เลือดสะอาดบริสุทธิ์ โดยใช้ตัวกรองที่มีความเฉพาะเจาะจง ในการกำจัดเชื้อไวรัส สารก่อภูมิแพ้ แอนติบอดี้ สารก่อการอักเสบ ของเสีย สารพิษ ไขมัน คอเลสเตอรอล และอื่น ๆ ซึ่งทีมพยาบาลผู้ชำนาญการจะเจาะเลือดคนไข้บริเวณแขนโดยสารที่ไม่ดีในพลาสมาจะถูกกรองทิ้ง พลาสมาที่ถูกกรองแล้วจะถูกนำไปรวมกับเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ที่ถูกแยกออกมาตั้งแต่ในครั้งแรก ส่งคืนกลับเข้าสู่ร่างกาย โดยไม่มีการสูญเสียเลือดแต่อย่างใด และก่อนที่ทางเราจะคืนพลาสมาที่ดีกลับเข้าสู่ร่างกายคุณ เราจะเติมสารทดแทนที่ชื่อ โปรตีนอัลบูมิน กลับไปให้ด้วย
ซึ่งระยะเวลาในการทำทั้งหมดประมาณ 2.5 - 4 ชั่วโมง ขึ้นกับขนาดร่างกายและปริมาณพลาสมาที่ต้องใช้ (หมายเหตุ อัลบูมิน คือโปรตีนที่ถูกสร้างจากตับ และปล่อยสู่กระแสเลือด ซึ่งพบมากถึง 60% ของโปรตีนทั้งหมดในกระแสเลือด มีหน้าที่สำคัญ ได้แก่ ช่วยรักษาสมดุลสารน้ำในเลือด การหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อในร่างกาย และช่วยขนส่งฮอร์โมน วิตามิน ยา และแร่ธาตุต่าง ๆ ไปเลี้ยงทั่วร่างกาย)
Plasmapheresis เหมาะกับใคร
ผลที่ได้หลังจากที่ทำ Plasmapheresis
ควรทำ Plasmapheresis บ่อยแค่ไหน
ขึ้นกับสุขภาพร่างกายของแต่ละบุคคลและการประเมินของแพทย์ผู้ชำนาญการ โดยทั่วไปหากท่านมีสุขภาพดี ไม่มีโรคเรื้อรังใด ๆ แนะนำทำปีละ 1 ครั้ง แต่หากท่านทำการกรองพลาสมาเพื่อรักษาโรค ความถี่ในการกรองพลาสมาจะขึ้นกับโรคที่ท่านเป็น
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับบริการ
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในบางราย
ข้อควรระวัง
คำถามที่อาจพบบ่อย FAQ
ผู้ที่สามารถเข้ารับบริการ Plasmapheresis ควรมีอายุตั้งแต่เท่าไหร่
ผู้ที่อาจไม่สามารถเข้ารับบริการ Plasmapheresis คือบุคคลกลุ่มใด
การดูแลตัวเองหลังรับบริการ
ระยะเวลาที่จะเริ่มเห็นผล
สามารถเข้ามาตรวจได้เลยหรือไม่หรือต้องพบแพทย์ก่อนเท่านั้น
หากจำเป็น ต้องตรวจโปรแกรมคัดกรองเบื้องต้นหรือไม่
ดีท็อกซ์เลือดล้างสารพิษ (Plasmapheresis)
การกรองพลาสมา (Plasmapheresis) คืออะไร
การกรองพลาสมา หรือ plasmapheresis เป็นกระบวนการบำบัดที่จะทำการแยกส่วนของพลาสมา เพื่อที่จะผ่านขั้นตอนในการกรองคัดแยกสารต่างชนิดต่างๆที่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงออกจากพลาสมา เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด รวมถึงพลาสมาที่ได้รับการบำบัดแล้ว ก็จะถูกลำเลียงกลับเข้าสู่ร่างกายของผู้รับการรักษา
ทำไมถึงต้องทำการกรองพลาสมา
เพราะพลาสมาในร่างกายของแต่ละคนมีการสะสมสารพิษ สารก่อการอักเสบ รวมถึงเชื้อโรคซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมในระยะยาวได้ เพราะเราเชื่อมั่นการป้องกันโอกาสในการเกิดโรคตั้งแต่เนิ่นๆและการดูแลสุขภาพให้มีอายุยืนยาวแบบเชิงรุก ย่อมเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์กับทุกคน จะดีกว่าหรือไม่ หากเจมีไน คลินิกฯ มีเทคโนโลยีที่ช่วยขจัดส่วนที่ไม่ดีหรือเป็นพิษออกจากพลาสมาของคุณ เสมือนการดีท็อกซ์เลือดล้างสารพิษเพื่อสุขภาพนั่นเอง
ขั้นตอนการทำ Plasmapheresis
Plasmapheresis ที่เจมีไน คลินิกฯ ใช้กระบวนการที่เรียกว่า Double Filtration Plasmapheresis (DFPP) เป็นกระบวนการทำให้เลือดสะอาดบริสุทธิ์ โดยใช้ตัวกรองที่มีความเฉพาะเจาะจง ในการกำจัดเชื้อไวรัส สารก่อภูมิแพ้ แอนติบอดี้ สารก่อการอักเสบ ของเสีย สารพิษ ไขมัน คอเลสเตอรอล และอื่น ๆ ซึ่งทีมพยาบาลผู้ชำนาญการจะเจาะเลือดคนไข้บริเวณแขนโดยสารที่ไม่ดีในพลาสมาจะถูกกรองทิ้ง พลาสมาที่ถูกกรองแล้วจะถูกนำไปรวมกับเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ที่ถูกแยกออกมาตั้งแต่ในครั้งแรก ส่งคืนกลับเข้าสู่ร่างกาย โดยไม่มีการสูญเสียเลือดแต่อย่างใด และก่อนที่ทางเราจะคืนพลาสมาที่ดีกลับเข้าสู่ร่างกายคุณ เราจะเติมสารทดแทนที่ชื่อ โปรตีนอัลบูมิน กลับไปให้ด้วย
ซึ่งระยะเวลาในการทำทั้งหมดประมาณ 2.5 - 4 ชั่วโมง ขึ้นกับขนาดร่างกายและปริมาณพลาสมาที่ต้องใช้ (หมายเหตุ อัลบูมิน คือโปรตีนที่ถูกสร้างจากตับ และปล่อยสู่กระแสเลือด ซึ่งพบมากถึง 60% ของโปรตีนทั้งหมดในกระแสเลือด มีหน้าที่สำคัญ ได้แก่ ช่วยรักษาสมดุลสารน้ำในเลือด การหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อในร่างกาย และช่วยขนส่งฮอร์โมน วิตามิน ยา และแร่ธาตุต่าง ๆ ไปเลี้ยงทั่วร่างกาย)
Plasmapheresis เหมาะกับใคร
- ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ในอนาคต
- ผู้ที่มีโรคไขมันในเลือดสูงที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Genetic hyperlipidemia or Familial Hypercholesterolemia) , ผู้ที่ตรวจพบสาร Lipoprotein สูงผิดปกติ และผู้ที่มีภาวะโปรตีนในเลือดสูงผิดปกติ (Hyperproteinemia)
- ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง หรือผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โดยไม่พบสาเหตุ
- ผู้ที่เป็นโรคผื่นผิวหนังจากการแพ้ยา
- ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
- ผู้ที่เป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายอวัยวะของตัวเอง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) โรค SLE โรคตุ่มน้ำพอง (Pemphigus) กลุ่มโรคทางระบบประสาทที่เกิดจากภูมิต้านทานผิดปกติ เช่น โรค Guillain-Barré Syndrome (GBS), Myasthenia Gravis
ผลที่ได้หลังจากที่ทำ Plasmapheresis
- ช่วยขจัดสารที่ร่างกายไม่ต้องการ เช่น เชื้อไวรัส ก่อการอักเสบ สารก่อภูมิแพ้ ไขมันในเลือด คอเลสเตอรอล และสารอื่นๆ ที่อยู่ในกระแสเลือดออกจากร่างกาย
- ช่วยป้องกันโรคต่างๆ และช่วยให้ฟื้นตัวจากโรคได้เร็วขึ้น
- ทำให้ร่างกายตอบสนองต่อวิตามิน สารอาหาร รวมทั้งยารักษาโรคต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
ควรทำ Plasmapheresis บ่อยแค่ไหน
ขึ้นกับสุขภาพร่างกายของแต่ละบุคคลและการประเมินของแพทย์ผู้ชำนาญการ โดยทั่วไปหากท่านมีสุขภาพดี ไม่มีโรคเรื้อรังใด ๆ แนะนำทำปีละ 1 ครั้ง แต่หากท่านทำการกรองพลาสมาเพื่อรักษาโรค ความถี่ในการกรองพลาสมาจะขึ้นกับโรคที่ท่านเป็น
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับบริการ
- คืนวันก่อนทำการกรองพลาสมา งดน้ำและอาหารทุกชนิดหลัง 20.00 น. เพื่อเตรียมเจาะเลือดตอนเช้า ยกเว้นผู้รับบริการเคยตรวจเลือดและได้ปรึกษาแพทย์ที่เจมีไน คลินิกฯ มาก่อนแล้ว อาจไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนทำการกรองพลาสมา ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ว่าจะต้องทำการเจาะเลือดก่อนทำการกรองพลาสมาหรือไม่
- ควรนอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนมารับบริการ
- หากมียาหรือวิตามินที่กำลังทานอยู่ โปรดแจ้งแพทย์ก่อนทุกครั้ง
- หากท่านกำลังรู้สึกไม่สบาย มีไข้ เป็นหวัด ควรเลื่อนการกรองพลาสมาออกไป จนกว่าจะหายดี
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในบางราย
- มีรอยฟกช้ำ บวม ติดเชื้อ หรือเลือดออกบริเวณที่ทำการแทงเส้นเลือดได้
- ความดันโลหิตต่ำจากการลำเลียงเลือดออกไปกรองนอกร่างกาย
- เกิดอาการบวมน้ำเนื่องจากความดันของเหลวในเลือดลดน้อยลง
- เกิดการลดจำนวนลงของปริมาณเกล็ดเลือดในร่างกาย
- ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่ใช้ในการเปลี่ยนถ่ายพลาสมา เช่น อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการเหน็บชาตามร่างกาย ความดันโลหิตต่ำ และเลือดไหล
- อาจมีไข้ รู้สึกหนาวสั่น หรือมีผื่นเล็กน้อย ขณะเปลี่ยนถ่ายพลาสมา
ข้อควรระวัง
- การกรองพลาสมา หรือ Plasmapheresis อาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะช็อกหรือความดันเลือดต่ำ
คำถามที่อาจพบบ่อย FAQ
ผู้ที่สามารถเข้ารับบริการ Plasmapheresis ควรมีอายุตั้งแต่เท่าไหร่
- อายุ 18 ปีขึ้นไป
ผู้ที่อาจไม่สามารถเข้ารับบริการ Plasmapheresis คือบุคคลกลุ่มใด
- ผู้ที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด
- ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะช็อกหรือความดันเลือดต่ำ
- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
การดูแลตัวเองหลังรับบริการ
- หลังการเปลี่ยนถ่ายน้ำเหลือง ผู้ป่วยจะต้องพักอยู่เฉย ๆ สักครู่ เมื่อกลับไปบ้านแล้ว ขอให้ผู้ป่วยปฏิบัติดังนี้เพื่อร่างกายจะได้ฟื้นตัวอย่างราบรื่น
- หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มร้อนๆ อย่างน้อย 3 ชั่วโมงหลังจากเปลี่ยนถ่ายพลาสมา เนื่องจากอาหารร้อนจะทำให้หลอดเลือดขยายตัวและอาจทำให้ผู้ที่เพิ่งเปลี่ยนถ่ายน้ำเหลืองมารู้สึกเวียนศีรษะได้
- หลีกเลี่ยงแสงแดดและไม่อยู่ในที่อากาศร้อนในวันที่รับการรักษา
- งดอาบน้ำร้อนและอบซาวน่าในวันที่รับการรักษา
- งดโกนขน หนวดเครา หรือตัดเล็บอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมงหลังเปลี่ยนถ่ายพลาสมา เพื่อลดโอกาสที่อาจมีเลือดออกมาก
- ผู้ที่เปลี่ยนถ่ายน้ำเหลืองส่วนมากต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงเรื่องภาวะแทรกซ้อน และต้องมีสายยางที่สอดใส่ในหลอดเลือดใหญ่ติดค้างอยู่
ระยะเวลาที่จะเริ่มเห็นผล
- เนื่องจากเป็นการดูแลจากภายใน เพื่อป้องกันการเกิดโรค ดังนั้น หลังจากที่ทำเสร็จ สารที่ไม่มีประโยชน์กับร่างกาย สามารถถูกกำจัดออกได้ทันทีหลังทำ
สามารถเข้ามาตรวจได้เลยหรือไม่หรือต้องพบแพทย์ก่อนเท่านั้น
- ผู้รับบริการทุกราย จำเป็นต้องเข้ามาปรึกษาแพทย์ก่อนรับบริการ
หากจำเป็น ต้องตรวจโปรแกรมคัดกรองเบื้องต้นหรือไม่
- หากไม่เคยตรวจสุขภาพประจำปีมากเกินกว่า 6 เดือน แพทย์จะแนะนำตรวจโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อดูความสมบูรณ์ของร่างกาย
- หากตรวจสุขภาพประจำปีมาแล้วภายใน 6 เดือน แพทย์ อาจขอผลการตรวจเพื่อประเมินว่าจำเป็นต้องตรวจอะไรเพิ่มเติมหรือไม่